วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

                             ประวัติโรงเรียน



     โรงเรียนอนุบาลราชบุรี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2486
โดยยืมอาคารเรียนของโรงเรียนสตรีราชบุรี 1 ห้องเรียน มีครู 2 คน
ครูใหญ่คนแรก คือ นางไสววัลย์ วัฒนพงศ์
พ.ศ. 2505 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้ 300,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ 008 จำนวน 1 หลัง มี 8ห้องเรียนและ 1 ห้องพักครู ในที่ดินของลูกเสือจังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา เงินงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ โรงเรียนจึงขอใช้เงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนสมทบอีก 100,000 บาท
พ.ศ. 2506 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในที่สร้างใหม่ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2506 โดยให้นางสาวอารี โพธิ์วิหก รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1มกราค2506 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับจนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529
พ.ศ. 2512 กรมสามัญศึกษา จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนอนุบาล แบบ 002 เพิ่มอีกจำนวน 4 ห้องเรียน มีห้องพักครู 1 ห้อง เป็นเงิน 200,000 บาท
พ.ศ. 2514 กรมสามัญศึกษาจัดสรรเงินงบประมาณ สำหรับต่อเติมอาคารเรียน แบบ 002 เพิ่มอีก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 100,000 บาท และโรงเรียนได้ใช้เงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนสบทบสร้างเพิ่มอีก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 100,000 บาท
พ.ศ. 2519 กรมสามัญศึกษา จัดสรรเงินงบประมาณสร้างตึกอาคารเรียนแบบพิเศษ 2 ชั้น จำนวน 1 หลังมี 10 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงิน 1,520,000 บาท
พ.ศ. 2525 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 312 กว้าง 7 เมตร ยาว 17.50 เมตร สูง 7 เมตร ให้ 1 หลังและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) ได้ให้เงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2525สบทบอีก 100,000 บาท จึงเพิ่มความยาวอีก 10.50 เมตร เป็น 28 เมตร และจัดทำเป็นห้องเก็บของ 1 ห้อง กว้าง 7 เมตร ยาว 4 เมตร ปีงบประมาณ 2525 ได้รับเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียน 017 ก เป็นอาคารเรียนตึก 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,160,000 บาท และสร้างส้วมแบบ 401 จำนวน 1 หลัง มี 8 ที่นั่ง เป็นเงิน 61,600 บาท
พ.ศ. 2526 ได้รับเงินงบประมาณสร้างส้วม แบบ 602 จำนวน 1 หลัง มี 10ที่นั่ง เป็นเงิน 169,500 บาท
พ.ศ. 2527 ได้รับเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
(ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) สร้างสนามวอลเลย์บอล เป็นเงิน 80,000 บาท
พ.ศ. 2528 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลังมี 12 ห้องเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นเงิน 2,770,000 บาท
พ.ศ. 2530 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 12 ห้องเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นเงิน 2,520.000 บาท และอาคารหลังนี้ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ขอใช้เป็นสำนักงาน
พ.ศ. 2531 ด้รับเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียน เป็นเงิน 80,000 บาท และสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ได้สบทบเพิ่มเติมและใช้วัสดุจากการรื้อย้ายอาคารเรียน แบบ 008 บางส่วนสบทบในการก่อสร้างห้องสมุด
พ.ศ. 2532 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 206/26 จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2534 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง 12 ห้องเรียน
พ.ศ. 2538 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 15 ห้องเรียน เป็นเงิน 5,400,000 บาท
พ.ศ. 2540 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น แบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง มี 18 ห้องเรียน เป็นเงิน 6,224,000 บาท
นายแฉล้ม สินสมุทร นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี และคณะกรรมการจัดสร้างอาคารโรงอาหาร 2 ชั้น 1 หลัง เป็นเงิน 3,000,000 บาท
โรงเรียนสร้างห้องน้ำ – ห้องส้วม สำหรับนักเรียนอนุบาล 1 หลัง 8 ที่นั่ง โรงเรียนจัดหาเงินก่อสร้าง จำนวน 130,000 บาท
พ.ศ. 2541 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างส้วมแบบ สปช. 001 มี 4 ที่นั่ง ราคาหลังละ 110,000 บาท จำนวน 2 หลัง
พ.ศ. 2542 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี สนับสนุนสร้างศูนย์ไมโครคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนต 1 ห้อง 1,000,000 บาท สร้างที่ล้างมือแปรงฟันข้างอาคารอเนกประสงค์ 72,000 บาท ติดตั้งระบบเสียงภายในโรงเรียน 70,000 บาท สร้างห้องเรียนธรรมชาติ 68,000 บาท
พ.ศ. 2543 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี สนับสนุนปรับปรุงห้องสมุดอัตโนมัติ 200,000 บาท สร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ระดับอนุบาล 1 ห้อง
พ.ศ. 2545 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ต่อเติมอาคารเรียน 3 ชั้น ห้องแสนสนุก 1 หลัง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โรงเรียนสร้างทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารเรียน อาคาร 4 และอาคาร 7 จำนวน 1 ที่ อาคาร 6 และอาคาร 7 จำนวน 1 ที่ เป็นเงิน 120,000 บาท
พ.ศ. 2546 นางศรีสุดา พุทธานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี บริจาคเงิน จำนวน 400,000 บาท สร้างสนามคอนกรีด
พ.ศ. 2547 ได้จัดสร้างอาคารดอกบัวมินิมาร์ท
พ.ศ. 2548 สร้างสระเล่นน้ำอนุบาล อ่างล้างมือ ปรับปรุงห้องส้วม เททางเท้า ปรับปรุงสนามเด็กอนุบาล
พ.ศ. 2550 สร้างโครงหลังคาเหล็ก Metal Sheet คลุมสนามเขียวเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน แบบเขียนเอง โดยใช้เงินรายได้สถานศึกษา จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 2,540,000 บาท
พ.ศ. 2551 ได้จัดสร้างอาคารเรียน แบบเขียนเอง 3 ชั้น จำนวน 6 ห้องเรียน 2 ห้องพักครู 1 ห้องน้ำ ราคา 3,144,000 บาท โดยใช้งบประมาณเงินรายได้สถานศึกษา            





วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข่าวการเมือง

Like

นิด้าโพลเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องกับอนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบ 50% ไม่อยากให้ทำงานการเมืองต่อ หากจะทำต้องลงพรรคการเมืองชัดเจน แต่กว่า 51% ไม่อยากให้กลับมาเป็นนายกแล้ว

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน   เรื่อง “อนาคตทางการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,258 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) ควรทำงานการเมืองต่อหรือไม่  หลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.71 ระบุว่า ไม่ควรทำงานการเมืองต่อ เพราะอยู่มานานแต่การบริหารงานต่างๆ ยังไม่ดีเท่าที่ควร เช่นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของประชาชน บ้านเมืองขาดความเป็นประชาธิปไตย มีการเอื้ออำนวยให้กับราชการด้วยกันเอง ขณะที่บางส่วนระบุว่าอยากเห็นกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศพัฒนาบ้านเมืองบ้าง รองลงมา ร้อยละ 48.73 ระบุว่า ควรทำงานการเมืองต่อ เพราะการบริหารงานดี บ้านเมืองสงบสุข สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดี และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรทำอย่างไร หากจะทำงานการเมืองต่อหลังจากการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.22 ระบุว่า เข้าสังกัดพรรคการเมืองและอยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี รองลงมาร้อยละ 31.08 ระบุว่า เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ได้มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ร้อยละ 9.06 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่ควรกลับมาเล่นการเมืองอีกเลย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้ปฏิบัติงานในกระทรวง และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
โดยผู้ที่ระบุว่า ให้เข้าสังกัดพรรคการเมืองและอยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.62 ระบุว่า สังกัดพรรคพลังประชารัฐ (นายอุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรค) รองลงมา ร้อยละ 27.11 ระบุว่า  สังกัดพรรคไหนก็ได้ ร้อยละ 11.28 ระบุว่า สังกัดพรรคประชาชนปฏิรูป (นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นหัวหน้าพรรค) ร้อยละ 8.05 ระบุว่า     สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย (สนับสนุนโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ร้อยละ 0.94 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จัดตั้งพรรคใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และพรรคตะวันใหม่
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่ หลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.51 ระบุว่า คิดว่าจะกลับมา รองลงมาร้อยละ 35.77 ระบุว่าคิดว่าจะไม่กลับมา และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งในปีหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.74 ระบุว่า ไม่สนับสนุน เพราะ ผลงานที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากได้คนใหม่ที่มีความสามารถในการบริหารมาพัฒนาประเทศ รองลงมา ร้อยละ 47.54 ระบุว่า สนับสนุน เพราะ ชอบแนวทางการทำงาน และมั่นใจในการบริหารงานต่าง ๆ สามารถเป็นคนกลางที่ดีที่ทำให้ประเทศชาติพัฒนา และทำให้บ้านเมืองสงบ และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
(Visited 64 times, 1 visits today)

เบ็นเท็น

โงกุนvsนินจา

อินะสึมะอีเลเว่นโก